เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [14. จุททสมวรรค] 4. อริยรูปกถา (139)
สก. อริยรูปไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็น
อารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์
ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มหาภูตรูปไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มหาภูตรูปเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ
เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อริยรูปเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของ
สังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[699] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อริยรูปอาศัยมหาภูตรูป” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่าง
หนึ่ง คือ มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป 4”1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น อริยรูปจึงอาศัยมหาภูตรูป

อริยรูปกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ม.มู. (แปล) 12/347/377-380

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :746 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [14. จุททสมวรรค] 5. อัญโญอนุสโยติกถา (140)
5. อัญโญอนุสโยติกถา (140)
ว่าด้วยอนุสัยเป็นคนละอย่างกัน(กับปริยุฏฐานกิเลส)
[700] สก. กามราคานุสัยกับกามราคปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. กามราคะกับกามราคปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคะกับกามราคปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัยกับกามราคปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิฆานุสัยกับปฏิฆปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิฆะกับปฏิฆปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิฆะกับปฏิฆปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ปฏิฆานุสัยกับปฏิฆปริยุฏฐานเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มานานุสัยกับมานปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มานะกับมานปริยุฏฐานเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 700-701/275)
2 เพราะมีความเห็นว่า เมื่อจิตที่เป็นอกุศลหรืออัพยากฤตกำลังเป็นไป ปุถุชนชื่อว่าเป็นผู้มีอนุสัย แต่ไม่มี
ปริยุฏฐานกิเลส ดังนั้น อนุสัยกับปริยุฏฐานกิเลสจึงเป็นคนละอย่างกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. 700-701/275)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :747 }